ในบทความนี้เราจะพูดถึง เทคนิคตกปลาด้วยทุ่นลอยน้ำในแหล่งน้ำนิ่ง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่จะทำให้คุณเข้าใจในแหล่งน้ำหรือหมายที่จะตกมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ ระดับความลึกของหมายในแต่ละจุด หากมีความเข้าใจในแหล่งน้ำนั้นๆ แล้วก็จะสามารถนำเทคนิคในการตกปลาที่เหมาะสมมาใช้ได้สำเร็จเหมือนกับนักตกปลามืออาชีพเลยทีเดียว
แหล่งน้ำตามธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นบ่อขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ หรืออ่างเก็บน้ำที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งจะมีฝูงปลาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากแต่ก็กระจัดกระจาย การหาหมายสำหรับตกปลาจึงต้องอาศัยสภาพของแหล่งน้ำเช่น ลักษณะของชายตลิ่ง หรือความแรงของกระแสน้ำในการพิจารณา และการตกปลาด้วยทุ่นลอยน้ำในแหล่งน้ำนิ่งนั้น จะมีแตกต่างจากการตกปลาด้วยทุ่นในแหล่งน้ำที่มีกระแสน้ำแรง เพราะสามารถควบคุมสายเบ็ดไม่ให้หย่อนได้ง่ายกว่าแหล่งน้ำไหล และตัวทุ่นจะลอยอยู่กับที่ซึ่งสามารถเรียกร้องความสนใจจากฝูงปลาที่อยู่ภายในบริเวณใกล้ๆ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องกำหนดจุดหรือหมายสำหรับตกปลาให้ดี เพราะถึงแม้ว่าสภาพแวดล้อมของแหล่งน้ำจะเหมือนหรือคล้ายกัน แต่บางแห่งอาจไม่มีฝูงปลาเลยก็เป็นได้ เช่น ชายตลิ่งที่มีพื้นหญ้ามองดูแล้วน่าจะเป็นจุดที่ดีที่สุด แต่กลับมีคนพลุกพล่าน และมาตกปลาบริเวณนั้นบ่อยครั้งก็อาจจะไม่มีปลาอยู่เลยก็เป็นได้ เพราะฝูงปลาเองก็ต้องการความสงบเช่นเดียวกัน
เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมเมื่อได้ตำแหน่งในการตกปลา
ก่อนที่จะเริ่มตกปลาในแหล่งน้ำนิ่งสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือการเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนฝูงปลาที่หากินในบริเวณนั้น นักตกปลาควรเตรียมกระชังแช่น้ำไว้ให้พร้อมเพื่อให้แรงกระเพื่อมของน้ำที่เกิดจากการหย่อนกระชังลงไปในน้ำสงบก่อนที่จะเกี่ยวเหยื่อและตีสายเบ็ดออกไป เพราะหากว่าคุณรอให้ตกปลาตัวแรกได้แล้วค่อยหย่อนกระชังลงไปในน้ำ เพราะแรงดิ้นของปลาที่ตกได้ หรือความผิดปกติเพียงเล็กน้อยอาจทำให้ฝูงปลาแตกตื่นและหนีไปหมดได้
หาระดับความลึกของหมาย
การตกปลาในแหล่งน้ำนิ่งธรรมชาติจะความแตกต่างจากการตกในบ่อที่เปิดให้บริการซึ่งเราจะรู้ระดับความลึกของหมาย แต่แหล่งน้ำธรรมชาติควรต้องรู้ความลึกของหมายที่จะตกเป็นอันดับแรกโดยการใช้ทุ่นลอยแบบดินสอมีห่วงยารัดหัวและท้าย หรือจะใช้อุปกรณ์อื่นที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายกันเป็นอุปกรณ์ช่วยประกบสายเบ็ดตามระดับของความลึกที่คาดคะเนไว้ และใช้ตะกั่วขนาดเล็กมีลูกหมุนช่วยดึงทุ่นให้จมลงใต้น้ำ และทำให้พื้นน้ำสั่นสะเทือนน้อยที่สุด แต่ถ้าทุ่นจมลงก็แสดงว่าบริเวณนั้นีระดับลึกกว่าที่คาด และถ้าเป็นเช่นนั้นก็ให้เลื่อนระยะทุ่นให้โผล่ส่วนปลายด้านบนขึ้นเหนือผิวน้ำ
โดยทั่วไปแล้วระดับความลึกของพื้นใต้น้ำบริเวณใกล้เคียงจะมีระดับความลึกที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นไปได้ที่อาจจะมีร่องน้ำอยู่ และระดับความลึกที่แต่กต่างนี้ก็มีผลกับการตกปลาได้เช่นเดียวกัน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรจะต้องตรวจหาระดับความลึกของน้ำให้ทั่วบริเวณและจดระดับความลึกไว้เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียเวลาในการเหวี่ยงและปรับตะกั่วใหม่สำหรับการกลับมาเพื่อตกปลาในแหล่งนี้อีกในครั้งถัดไป
อุปกรณ์ที่สำคัญ
ทุ่นลอย
ทุ่นลอยที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปสำหรับแหล่งน้ำนิ่งคือทุ่นชิงหลิว หรือจะเรียกว่าทุ่นลอยแบบเสาอากาศ ตัวทุ่นมีกระเป๋าและก้านเรียวยาวด้านบน ด้านล่างจะมีรูสำหรับร้อยสายเบ็ด เมื่อร้อยสายเป็นที่เรียบร้อยจึงจัดระยะให้มีระดับเท่าความลึกของน้ำจึงหนีบตะกั่วที่สายเบ็ดไว้สองลูกให้มีระยะห่างกัน แต่ถ้าใช้เหยื่อขนาดเล็กก็เพิ่มตะกั่วขนาดเล็กหนีบเพิ่มที่สายด้านล่างของทุ่นเพื่อนให้ตัวทุ่นจมลงและก้านเสาโผล่ ส่วนด้านบนของสายให้หนีบเพิ่มอีกหนึ่งลูกห่างจากตัวเป็น 4 เซนติเมตร
เมื่อตีเหยื่อออกไป และตะกั่วนอนอยู่บนพื้นใต้น้ำแล้ว หากผืนน้ำเป็นระลอกและทำให้ทุ่นไหวตาม ก็ให้เพิ่มตะกั่วลงไปเพื่อให้สามารถเห็นปลายทุ่นง่ายขึ้น แต่หากหมายอยู่ห่างจากฝั่งหรือแหล่งน้ำนั้นมีลมที่ค่อนข้างแรง ให้ใช้ทุ่นลอยชนิดต้านลมหรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า Windberter มีลักษณะเหมือนทุ่น Antenna แต่ต่างกันที่ก้านหรือเสาของทุ่นที่ขนาดใหญ่กว่าและมีสีสันมากกว่า จึงทำให้สามารถมองเห็นได้แม้จะอยู่ในระยะไกล
เรสท์ หรือที่วางคันเบ็ด
อุปกรณ์จำเป็นสำหรับนักตกปลาที่จะช่วยให้ไม่ต้องเมื่อยถือเบ็ดตกปลาเอง ซึ่งหาคุณตกปลาด้วยวิธีนี้จำเป็นต้องใช้ที่วางคันเบ็ดสองอันปักไว้ข้างตัวเพื่อให้เอื้อมหยิบได้ทันที โดยอันหน้าจะปักในระดับที่ต่ำกว่าอันหลังเพื่อให้เบ็ดมีความลาดเอียงลงไปให้ปลายเบ็ดจมอยูใต้ผิวน้ำ
รู้ได้อย่างไรว่าปลากินเหยื่อแล้ว
เมื่อตีเหยื่อและปลายเบ็ดจมอยู่ใต้น้ำเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้กรอสายเพื่อดึงทุ่นให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการแล้วจึงวางคันเบ็ดบนที่วางคันเบ็ดหรือเรสท์ โดยให้ปลายคันเบ็ดอยู่ในน้ำแล้วจึงอ่อยเหยื่อยรอบทุ่นเพื่อเรียกความสนใจจากปลาให้เข้ามาใกล้เบ็ดเร็วขึ้น ในจังหวะที่มีปลามากินเหยื่อและหากใช้ทุ่น Antenna ซึ่งไวต่อการเคลื่อนไหว เมื่อสังเกตเห็นความเคลื่อนไหวที่ต่างจากปกติให้ตวัดเบ็ดขึ้นทันที นันก็เพราะปลาจะไม่ดึงทุ่นลงใต้น้ำทุกครั้ง แต่จะจมหากปลาคว้าเหยื่อแล้วว่ายไปทันที การที่เราติดตะกั่วไว้ใกล้ตัวเบ็ดเพราะตะกั่วจะลอยทันทีที่ปลากินเหยื่อถึงแม้จะกินอยู่กับที่ ถ้าปลาคาบเหยื่อยหนีทุ่นจะถูกลากและจมลง ถ้าใช้เหยื่อขนาดเล็กน้ำหนักเบาอย่างไส้เดือน ก็ให้ตวัดคันเบ็ดทันทีที่เห็นทุ่นขยับ เพราะถ้าช้าปลาอาจจะกลืนเหยื่อไปแล้ว ดังนั้นเพื่อให้ปลากินเหยื่อแรงขึ้น หรือคาบเหยื่อหนีตามสัญชาติญาณจึงควรเพิ่มขนาดของเหยื่อขึ้น
สำหรับวันที่มีลมค่อนข้างแรงให้เลือใช้ทุ่นก้านค่อนข้างยาว และใช้ตะกั่วลูกใหญ่แทนโดยติดห่างจากคันเบ็ด50 เซนติเมตรและเลื่อนทุ่นให้ระยะเท่าๆกัน และให้ตะกั่วลูกใหญ่ทำหน้าที่ถ่วงทุ่นอยู่บนหน้าดิน
สำหรับในช่วงฤดูหนาวปลาจะมีพฤติกรรมที่เชื่องช้าและอยู่เป็นกลุ่มเป็นฝูง ดังนั้นเมื่อตีเหยื่อออกไปแล้วให้รอสักพักแล้วจึงกรอสายเบ็ดช้าสัก 3-4 รอบแล้วทิ้งไว้ 10 นาที ทำแบบนี้สลับไปเรื่อยจนมีปลามากินเหยื่อ ข้อควรระวังคือปลาอาจจะกินเหยื่อทันทีเมื่อหยุดกรอสาย หรือลากสายผ่านฝูงปลาแล้วทุ่นมีความผิดปกติก็ให้รีบตวัดคันเบ็ดทันที
การตกปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติต้องอาศัยประสบการณ์ในการหาหมายที่จะตกปลา ซึ่งอาจต้องลุยน้ำลุยโคลนบ้างเพื่อให้ได้หมายสำหรับตกปลา และเมื่อได้เรียนรู้ เทคนิคตกปลาด้วยทุ่นลอยน้ำในแหล่งน้ำนิ่ง กันแล้วหวังว่านักตกปลาที่กำลังฝึกและคนที่กำลังคิดอยากจะตกปลาจะได้นำเทคนิคที่เราได้นำมาให้ทุกท่านในบทความนี้ไปใช้ในการทำกิจกรรมตกปลาของท่านอย่างสนุกสนาน